
ใกล้ถึงวันลอยกระทงเข้ามาแล้ว “หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา” หมอดูชื่อดังเจ้าของฉายาจอมสถิติเคยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อยักษ์ใหญ่รายหนึ่งว่า “หนึ่งในวัตถุประสงค์ของการลอยกระทงคือการสักการะรอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา” ใครไปลอยกระทงก็อย่าลืมสวดบทสวดบูชารอยพระพุทธบาทนี้ดู สวดก่อนลอยกระทงจะมงคลชีวิตทุกราศี…
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
“มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
คำแปล ข้าพเจ้าขอบูชารอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่ริมหาดทรายแม่น้ำนัมมทา ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปกระทงนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”
อ่านเพิ่มเติม: เผยคาถาบูชา “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ทำให้ถูกวิธี ช่วยให้การเงินรุ่งเรือง การค้ามั่งมี หมดหนี้หมดสิน!
“วัตถุประสงค์ของบทสวดนี้ นอกจากเป็นหนึ่งในตำนานของการสักการะพระพุทธบาทในวันลอยกระทง ซึ่งมีหลายตำนานแล้ว วัตถุประสงค์ของบทสวดครั้งนี้ถือเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง ถามใครสวดแล้วได้ผลบ้าง ได้ผลทุกคนทุกราศีครับ” หมอช้างกล่าวสรุป
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหมต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้)
อ่านเพิ่มเติม: เปิดตำรา “กระทง” ในแต่ละปีนักษัตร ควรใส่อะไรบ้าง เพื่อบูชาพระแม่คงคา ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีปดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน”
แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยสืบทอดมาจนปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม: แม่นมาก!! 10 ความฝันเหล่านี้ ที่บอกว่าคุณกำลังจะมีโชคลาภก้อนใหญ่ ในเร็วๆนี้
อ่านเพิ่มเติม: เปิดตำนาน “ช้างศักดิ์สิทธิ์” นามข้าชื่อ “เอราวัณ” ช้างคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย
อ่านเพิ่มเติม: ๕ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ต้องไปกราบให้ได้สักครั้งในชีวิต!!
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: ทีมงานวันวาน